
ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ความหมายประเพณี ความหมายวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมไทย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ ทั้งตัวบุคคลและสังคม มีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในขอบเขตเดียวกัน จนมีความเป็นเอกลักษณ์ของไทย ไม่ว่าจะเป็น ภาษา การแต่งกาย ศิลปวัตถุ ดนตรี อาหาร นอกจากนี้ยังมีการรับเอาวัฒนธรรมต่างประเทศเข้ามาผสมผสาน เพื่อให้มีความกลมกลืนทางวัฒนธรรมตามยุคสมัย แต่ก็ยังคงความเป็นไทยเพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกับรากฐานของประเพณีและวัฒนธรรมที่ได้มีการถือปฏิบัติกันมา เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ตามสิ่งแวดล้อม และพื้นฐานการดำเนินชีวิตในชุมชน
ความหมายของประเพณี
ประเพณี (Tradition) หมายถึง การกระทำกิจกรรมทางสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต มีคุณค่าทางชีวิต ตามความคิดความเชื่อปฏิบัติเพื่อความเจริญแห่งตนและสังคม เช่น การดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์
ลักษณะของประเพณีไทย
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ไม่ว่าเป็นประเพณีที่ยึดถือกันมา หรือประเพณีท้องถิ่น ปัจจุบันมีประเพณีที่หลากหลาย โดยแบ่งออกมาเป็นประเพณีสำคัญ ดังนี้
- ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ส่งเสริมเรื่องความมีสิริมงคล ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเชื่อ พิธีกรรม เช่น งานแต่ง งานบวช พิธีหมั้น การทำบุญเลี้ยงพระ การเผาศพ
- ประเพณีเกี่ยวกับชุมชนหรือส่วนรวม เป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัว ประเพณีงานบุญบั้งไฟ ประเพณีการรับประทานอาหาร
- ประเพณีราชการ จำแนกเป็น 2 ประเภท
- รัฐพิธี คือ รัฐพิธี เป็นพิธีประจำปีที่ทางราชการกำหนดขั้น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จไปแทนพระองค์ เช่น วันจักรี
- พระราชพิธี หมายถึง พิธีที่จัดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ เป็นพิธีหลวง ได้แก่ พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระ นังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก(วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- ประเพณีท้องถิ่น เป็นพิธีที่ทำให้คนในสังคม ชุมชนที่ปฏิบัติร่วมกัน มีวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ครอบคลุมไปถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การแต่งกาย ภาษา


ความหมายของวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย แบบแผนในการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบต่อกัน มาเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนได้อย่างมีความสุข มีการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัย เช่น การกราบไหว้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณ
วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- แสดงถึงความเจริญงอกงาม เช่น ภาษา ศาสนา ศิลปะของชาติ
- แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การแต่งการ การมีมารยาทในการเข้าสังคม
- แสดงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที และความอ่อนน้อมถ่อมตน
ประเภทของวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- คติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านศีลธรรมและจิตใจ
- เนติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นระเบียบแบบแผน กฎหมาย จารีตประเพณี
- สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม เช่น มารยาททางสังคม มารยาทในการพูด
- วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยววกับวัตถุจับต้องได้
ความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามของมนุษย์ โดยการกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของสังคม สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนี้
- สร้างความรักและความผูกพันในครอบครัว เช่น วันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ของไทย ที่ลูกหลานทำงานต่างที่จะกลับถิ่นฐานบ้านเกิด รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่มีความเคารพนับถือ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
- สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ เช่น เกษตรกรหรือชาวนาจะประกอบพิธีตามความเชื่อ สู่ขวัญข้าวบูชาพระแม่โพสพ เพื่อให้นาข้าวได้ผลผลิตดี ชาวไร่ชาวนาในภาคอีสาน ก็จะประกอบพิธีบุญบั้งไฟ เพื่อขอให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ให้มีน้ำพอที่จะเพาะปลูก
- สร้างความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เช่น ประเพณีการทำบุญสารทเดือนสิบ ที่จะเป็นการประกอบพิธีเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
- สร้างความสามัคคี เช่น ประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของไทย ที่เจ้าของที่นาจะบอกกล่าวกับเพื่อบ้านว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อไหร่ โดยการปักธงไว้ที่ทุ่งนา ชาววบ้านที่เห็นก็จะต่างมาร่วมด้วยช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการแสดงถึงความสมัคคีและมีน้ำใจซึ่งกันและกัน
- การหล่อหลอมบุคคลิกภาพให้กับสมาชิกในสังคม เช่น มารยาททางสังคม การรับประทานอาหาร และการแต่งกาย
- สร้างเอกลักษณ์ให้แก่สังคม เช่น ภาษา ธงชาติ เพลงชาติ
ตัวอย่างประเพณีและวัฒนธรรมไทยที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน

ประเพณีภาคเหนือ
- ประเพณีทานขันข้าว
- ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
- ประเพณีสลากภัต
- ประเพณียี่เป็ง
- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
- ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
- ประเพณีจุดบ้องไฟ
- ประเพณีพิธีสู่ขวัญวัวควาย
- ประเพณีแห่นางแมว
- ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ
- ประเพณีอู้สาว
- ประเพณีทานหลัวผิงไฟ
- ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า
- ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า
- ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง
- ประเพณีดำหัว
- ประเพณีเข้าอินทขีล
- ประเพณีแฮกนา (แรกนา)
- ประเพณีการปลูกเรือน
- ประเพณีสืบชาตา

ประเพณีภาคอีสาน
- ประเพณีแห่นางแมว
- ประเพณีแห่ผีตาโขน
- ประเพณีบุญเบิกฟ้า
- ประเพณีบุญผะเหวด
- ประเพณีแซนโฎนตา
- ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
- ประเพณีบุญบั้งไฟ
- ประเพณีแห่เทียนพรรษา
- ประเพณีไหลเรือไฟ
- ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ
- ประเพณีไหลเรือไฟ
- ประเพณีงานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว
- ประเพณีฮีตสิบสอง
- ประเพณีงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี
- ประเพณีบุญข้าวสาก (บุญเดือนสิบ)
- ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
- ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
- ประเพณีการแข่งเรือพิมาย
- ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
- ประเพณีบุญผะเหวด

ประเพณีภาคกลาง
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์
- ประเพณีทำขวัญข้าว
- ประเพณีโยนบัว
- ประเพณีตักบาตรดอกไม้
- ประเพณีตักบาตรเทโว
- ประเพณีกำฟ้า
- ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ
- ประเพณีรับบัว
- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
- ประเพณีตักบาตรดอกไม้
- ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์
- ประเพณีตักบาตรพระร้อย
- ประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ
- ประเพณีทอดกฐิน
- ประเพณีลอยกระทง
- ประเพณีวิ่งควาย
- ประเพณีการทำบุญโคนไม้
- ประเพณีรำพาข้าวสาร
- ประเพณีกำฟ้า
- ประเพณีทอดพระป่าโจร

ประเพณีภาคใต้
- ประเพณีกวนข้าวยาคู
- ประเพณีให้ทานไฟ
- ประเพณีสารทเดือนสิบ
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
- ประเพณีลากพระ
- ประเพณีอาบน้ำคนแก่
- ประเพณีสวดด้าน
- ประเพณีแห่นางดาน
- ประเพณีถือศีลกินเจ
- ประเพณียกขันหมากพระปฐม
- ประเพณีการแห่นก
- ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
- ประเพณีอาบน้ำคนแก่
- ประเพณีลอยเรือ
- ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง
- ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
- ประเพณีแห่พระแข่งเรือ
- ประเพณีสารทเดือนสิบ
- ประเพณีการแข่งโพน
- ประเพณีการเดินเต่า
ดังนั้นแล้วเราควรจะต้องช่วยกันสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงเอกลักษณ์และวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม ที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อสังคม ตลอดจนธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม และความเชื่อ