ความเป็นมาของวันเทโวโรหณะ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11

ตักบาตรเทโว 66

วันเทโวโรหณะหรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก เมื่อถึงวันออกพรรษาพุทธศาสนิกชน ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา ตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาส แล้ววันถัดมาจากวันออกพรรษา 1 วันพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย จะนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ  คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ ก็เป็นการผสมระหว่าง เทวะ + โอโรหณะ ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่าในวันถัดไปวันออกพรรษา 1 วัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสะนคร พร้อมทรงแสดงโลกวิวรณ์ณปาฏิหาริย์เปิดทั้ง 3 โลกด้วย 

ตักบาตรเทโวโรหณะ มีปรากฎอยู่ในพุทธตำนานเรื่องเทโวโรหณะสูตร ประเพณีตักบาตรเทโวนั้นมาจากคำว่า เทโวโรหณะ อันหมายถึงการเสด็จลงมาจากเทวโลกหรือโลกสวรรค์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพุทธตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วนั้น ได้เสด็จไปประกาศพระพุทธศาสนาทั่วแคว้นชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤห์ พาราณสี สาวัตถีตลอดจนถึงเมืองกบิลพัสดุ์ราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา พระนางมหาประชาบดีโคตมี พระนางยโสธราพิมพา และพระราหุลราชกุมาร ตลอดทั้งพระประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผล ตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนเอง

พระพุทธเจ้าประสูติ

แหล่งที่มาภาพ : https://pna.onab.go.th/th/content/page/index/id/8080

ณ การนั้นพระพุทธองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาที่สิ้นพระชนม์หลังพระองค์ประสูติได้ 7 ราตรี ทรงดำริที่จะสนองพระคุณพระพุทธมารดา ซึ่งมีพระคุณล้นฟ้ามหาสมุทรก็มีเพียงพระอภิธรรมที่ควรค่าทดแทนพระคุณเกษียรธาราหรือค่าน้ำนม ในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำนำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาตลอดพรรษาจนพระพุทธมารดาบรรลุอริยมรรคอริยผลเป็นพระอรหันต์ตระกูล หันตระกูล ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษาแรม 1 ค่ำเดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ทั้ง 3 อันได้แก่ บันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ซึ่งสักเทวราชหรือว่าพระอินทร์ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร ณ ที่นั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างมารอรับและตักบาตรภัตตาหารกันอย่างเนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฏการณ์ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์เรียกว่าวัน เทโวโรหณะหรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก 

วันเทโวโรหณะมีความสำคัญอย่างไร

ตักบาตรเทโว 66

เป็น ประเพณีสำคัญของไทย ที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า ตักบาตรเทโว พิธีธรรมนี้นั้นบางวัดก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหามมีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคนลากล้อเลื่อนไปอย่างช้าๆนำหน้าพระสงฆ์และสามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าวของอาหารคาว หวาน มาเรียงรายกันอยู่ในแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่านคอยตักบาตร โดยอาหารที่นิยมตักในวันนั้นนอกจากจะเป็นข้าวสารอาหารคาว หวาน ธรรมดาแล้วก็จะมี ข้าวต้มลูกโยน ด้วย

ตักบาตรเทโว 66

ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าเนื่องจากในครั้งสมัยพุทธกาลมีประชาชนต่างมารอเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถใส่บาตรถึงตัวพระองค์ได้ จึงพากันอธิษฐานแล้วใส่บาตรแทน ซึ่งด้วยศรัทธาตั้งใจจริงทำให้อาหารที่โยนมานั้นตกลงในบาตรของพระพุทธองค์ได้เหมาะพอดี นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในพุทธประวัติสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยนั่นก็คือ ข้าวมธุปายาส หรือข้าวที่กวนกับน้ำผึ้ง ด้วยข้าวทิพย์นี้จะประกอบพิธีขึ้นในวันที่ 15 ค่ำเดือน 11 ก่อน วันออกพรรษา 1 วัน

โดยจะต้องใช้เด็กหญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน 4 คน นุ่งขาวห่มขาวทำหน้าที่กวนข้าวทิพย์ การกวนข้าวทิพย์นี้ตามตำนานความเชื่อกล่าวไว้ว่า นางสุชาดาคือผู้ริเริ่มการปรุงข้าวมธุปายาส มาถวายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเหล่าเทพบุตร เทพธิดา เทวดา นางฟ้า มนุษย์ ภูตผีปีศาจ อสุรกายได้รวมตัวกันประกอบพิธีกรข้าวทิพย์เพื่อแจกจ่ายให้ได้นำไปถวายบาตร แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนและวัดที่จะรวมกันจัดพิธีกรข้าวทิพย์เพื่อใช้ในการตักบาตรในวันตักบาตรเทโวนั่นเอง 

บทความแนะนำ

ตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีน ประเพณีและล

Read More »

เทศกาลผีตาโขน มรดกภูมิปัญ

Read More »
ทำบุญบ้าน

ประเพณีทำบุญบ้าน ทำบุญบ้า

Read More »

เทศกาลเวนิสคาร์นิวัล (Ven

Read More »
new year festival

เทศกาลปีใหม่ มีกิจกรรมวัน

Read More »
fuji shibazakura festival

เทศกาลฟูจิชิบะซากุระ 2024

Read More »