ประเพณีวันลอยกระทง ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง

วันลอยกระทง (Loy krathong festival) เป็นประเพณีของไทยที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ ปกติในประเทศไทยเรามักจะลอยกระทงในเดือนตุลาคมหรือไม่ก็เดือนพฤศจิกายนแล้วแต่ปีนั้นๆ ที่มักจะทำกันคือช่วงวันเพ็ญเดือน 12 หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันจันทร์, 27 พฤศจิกายน 2566 เพราะพระจันทร์จะเต็มดวง แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน และเป็นช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะเต็มนอง 2 ฝั่งแม่น้ำ ผู้คนที่หลั่งไหลกันมาเที่ยวงานก็จะมีการประดิษฐ์กระทงรูปทรงต่างๆ ประดับประดากระทงด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน แพ ฯลฯ อย่างสวยงาม เพื่อนำมาลอยบูชาพระแม่คงคา หรือตามความเชื่อต่างๆของแต่ละคน

ตำนานเทศกาลวันลอยกระทง

แต่เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่าพระราชพิธีจองเปรียง ชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้ง 3 คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นเมื่อคนไทยนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธียกโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี หน้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมเพื่อบูชาพระพุทธบาท เนื้อหาดทรายแม่น้ำนัมมทาที่ประเทศอินเดีย การลอยกระทงตามสายน้ำนี้นางนพมาศผู้เป็นธิดาของพระศรีมโหสถและนางเรวดี ซึ่งนางนพมาศเป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงาม เพียบพร้อมไปด้วยกิริยามารยาทและนางผู้นี้ มีความสามารถด้านอักษรศาสตร์ จนได้รับสมญานามว่ากวีหญิงคนแรกของไทย

อีกทั้งยังมีฝีมือในด้านเย็บปักถักร้อย ที่มีความปราณีตสวยงาม ตลอดจนการขับร้องดนตรีที่มีความไพเราะเสนาะหูยิ่งนัก และด้วยความสามารถของนางนพมาศ จึงได้เข้ารับราชการทำหน้าที่ขับร้องถวาย แล้วก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงในตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เมื่อถึงพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นวิธีชักโครมลอย เหล่าบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัด โคมแขวน และโคมลอย ทั่วทั้งพระนครแล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้น 3 ราตรีอย่างรื่นเริง เหล่านางสนมต่างพากันทำโคมร้อยด้วยบุปผชาติ เป็นรูปลวดลายวิจิตรงดงามเพื่อเข้าประกวดและนำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง

ถึงคราวท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกลมขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง จึงนำมาทำเป็นกระทงตกแต่งประทีป เพื่อลอยถวายสักการะรอยพระพุทธบาทเมื่อพระร่วงได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้อธิบายจนเป็นที่พอพระทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “ต่อจากนี้สืบไปเบื้องหน้ากษัตริย์ในสยามประเทศถึงกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนำมาทานนทีปราบเข้ากัลปาวสาน” พระร่วงให้ถือเป็นแบบอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปีในคืนวันเพ็ญเดือน 12 โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอยสืบสานจนถึงทุกวันนี้ ตำนานที่เล่าสืบสานกันมานาน

จุดประสงค์การลอยกระทง

การลอยกระทงถือปฏิบัติกันมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งการแสดงออกจะมีหลากหลายแบบ และมีจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น

  1. บูชาพระแม่คงคา ความเชื่อการขอขมาพระแม่คงคา บูชาเทพธิดาแห่งแม่น้ำเพื่อแสดงความเคารพและ/หรือขอขมา 
  2. การบูชาพระพุทธเจ้า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินใจสละชีวิตทางโลกแล้ว พระองค์ทรงตัดปมและดำเนินชีวิตแบบนักพรต ตามตำนานเล่าว่าแม่น้ำทุกสายไหลลงมาจากสวรรค์ ดังนั้นคนไทยจึงลอยกระทงในแม่น้ำและแหล่งน้ำอื่นๆ
  3. การบูชาพระอุปคุปต์ อุปคุปต์เป็นพระสงฆ์ตามตำนานว่าเป็นครูสอนจิตวิญญาณของจักรพรรดิอโศกแห่งอินเดีย
  4. การบูชาพระวิษณุ กล่าวกันว่าพระวิษณุเทพกำลังหลับใหลอยู่บนงูยักษ์ในมหาสมุทร ดังนั้นกระทงจึงลอยเป็นเครื่องบูชาแด่พระวิษณุ
  5. การบูชาบรรพบุรุษ บางคนก็ลอยบูชาไหว้บรรพบุรุษด้วย แนวความเชื่อนี้มีลักษณะร่วมกับการเฉลิมฉลองอื่นๆ เช่น เทศกาลโคมไฟเอเชียตะวันออก

องค์ประกอบกระทงแบบดั้งเดิม

ต้นกล้วย

ใบตอง

ธูป/เทียน

ดอกไม้นานาชนิด

วิธีทำกระทง

การทำกระทงของแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ตามความชื่นชอบ ด้วยการทำกระทงไม่มีรูปแบบการทำที่ตายตัว แต่มีความปราณีตที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ทุกคนสามารถประดิษฐ์ได้เลย ซึ่งปัจจุบันการทำกระทงมีความแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย บ้างก็ใช้กระทงจากต้นกล้วย บ้างก็ทำกระทงจากขนมปัง บ้างก็ทำกระทงจากผลไม้ หรือสิ่งของต่างๆตามไอเดีย แต่เดิมการทำกระทงจะทำจากต้นกล้วย มีวิธีทำดังนี้

  1. ตัดต้นกล้วยให้เป็นวงกลม แล้วลองน้ำต้นกล้วยลอยน้ำในกะละมัง เพื่อดูความเอียง ระดับการลอยของกระทง
  2. ตัดใบตอง มาพับตามที่ต้องการ ติดตามขอบของต้นกล้วยชั้นนอก
  3. นำดอกไม้มาประดับตรงกลางของกระทง ตามความชื่นชอบ
  4. สุดท้ายแล้วปักธูปและเทียนลงบนกระทง ถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

อนาคตประเพณีลอยกระทง

เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีเพิ่มมากขึ้น หลายคนจึงเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากบางแง่มุมของเทศกาล กล่าวคือ การลอยกระทง มากเกินไป ในบางพื้นที่อาจทำให้เกิดปัญหามลพิษได้ แม้ว่าวัสดุอินทรีย์ที่ใช้ทำกระทงสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่ถ้ามากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ส่งกลิ่นเหม็นและเน่าได้ การทำความสะอาดหลังเทศกาลเป็นงานที่หนักหน่วง ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลและชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมทางน้ำในแต่ละปี เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงมีความพยายามที่จะส่งเสริมการลอยกระทงแบบเรียบง่าย หลายคนยังหันไปใช้วัสดุใหม่ที่สร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อลดการเกิดปัญหาในอนาคตได้

เทศกาลอื่นๆ : festivalguid.com

บทความแนะนำ

ตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีน ประเพณีและล

Read More »

เทศกาลผีตาโขน มรดกภูมิปัญ

Read More »
ทำบุญบ้าน

ประเพณีทำบุญบ้าน ทำบุญบ้า

Read More »

เทศกาลเวนิสคาร์นิวัล (Ven

Read More »
new year festival

เทศกาลปีใหม่ มีกิจกรรมวัน

Read More »
fuji shibazakura festival

เทศกาลฟูจิชิบะซากุระ 2024

Read More »