วันออกพรรษา 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝน โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำ สังฆกรรมปวารณา วันออกพรรษาจะตรงกับวัน 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งวันนี้จะตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2566

ประวัติความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษา

เกิดขึ้นจากครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่อารามรอบๆพระนคร พระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดความขัดแย้งกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกากันว่าจะไม่พูดจากันตลอด 3 เดือน และได้ถือปฏิบัติกันมาตลอดทั้งพรรษา เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แล้วได้กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตำหนิและทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันใน 3 ลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี” 

ดังนั้นในวันออกพรรษาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งเป็นวันเดียวกัน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี แต่ถือกันคนละความหมายคือ วันออกพรรษา คือวันที่สิ้นสุดของการอยู่จำพรรษาหรือพูดง่ายๆว่าวันสุดท้ายที่ต้องอยู่จำพรรษาในแต่ละปีและพระสงฆ์จะต้องอยู่ให้ครบอีก 1 ราตรี จึงจะครบถ้วนบริบูรณ์ ส่วน วันมหาปวารณา คือ การทำปวารณาครั้งใหญ่หมายถึงวันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทั้งพระผู้ใหญ่พระผู้น้อย และพระผู้น้อยปางเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยจิตที่เมตตาโดยมีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาบาลีว่า

คำกล่าวปวารณา

“สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ 
ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ”

ซึ่งได้แปลว่า ข้าแต่ภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญกระผมขอปวารณาต่อสงฆ์หากท่านทั้งหลายได้เห็นได้ยินหรือสงสัยว่าผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วยเมื่อกระผมมองเห็นแล้วจะประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี

การอยู่จำพรรษารวมกันตลอดระยะเวลา 3 เดือน อาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเสมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผงจะอยู่ชิดติดในตาเราก็ไม่สามารถมองเห็นผงนั้นได้ จึงจำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงใช้วิธีการปวารณาให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อพระภิกษุที่ได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดีไม่งามอะไรก็ตาม ให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้คือ 

“พระผู้มีพรรษามากก็กล่าวตักเตือนพระผู้มีพรรษาน้อยได้และพระผู้มีพรรษาน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อบกพร่องของพระผู้มีพรรษามากได้เช่นกัน โดยที่พระผู้มีพรรษามากท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง การกล่าวปวารณาเท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติของพระรูปหนึ่งก่อนที่จะลามก่อความเสื่อมเสียหายได้ ลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนา ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง”การปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำนี้เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือตามระวังไม่ให้ประมาทไม่ยอมให้สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย 

จุดมุ่งหมายของการปวารณา

  1. เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลงที่เกิดจากความระแวงสงสัยให้หมดไปในที่สุด 
  2. เป็นทางประสานรอยร้าวที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน ให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน 
  3. เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ 
  4. เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกัน ในการแสดงความคิด สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วยยศชั้นพรรษาและวัย 
  5. ก่อให้เกิดภราดรภาค คือความรู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปราถนาดี เอื้อเผื่อเผื่อแผ่ นำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงามคล้ายๆกัน 

อานิสงค์ของการปวารณา

พึงประสงค์ที่ดีงามคล้ายๆกันเรียกว่าศีลสามัญญาตาอานิสงส์ของการปวารณาได้แก่ 

  1. ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ในเพศบรรพชิตทั้งทางกายวาจาและใจเป็นการคลายความสงสัยระแวงให้หมดไปในที่สุด 
  2. พระภิกษุทุกรูปจะรู้ข้อบกพร่องของตนเองและจะได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นโดยฝึกความอดทนต่อการว่ากล่าวตักเตือนได้เป็นการเปิดใจยอมรับฟังผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ 
  3. พระภิกษุทุกรูปจะได้ขอขมากันและกันเพื่อที่จะไม่ถือโทษโกรธเคืองกันในภายหลังด้วยความรักและปรารถนาดีและให้อภัยซึ่งกันและกัน จะทำให้อยู่ร่วมกันในหมู่คณะอย่างผาสุข 
  4. เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีในสังฆมณฑลให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนในการทำงานพระพุทธศาสนาเป็นทีม 
  5. ทำให้คณะสงฆ์มีความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การถูกทำลายจากผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาการปวารณาจึงเป็นการกระทำเพื่อหวังความเจริญเพื่อเกิดประโยชน์ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม

ดังนั้นเมื่อวันมหาปวารณาเวียนมาถึงพวกเราพุทธบริสัตว์ 4 จะได้ถือโอกาสนี้ปฏิบัติตามธรรมเนียมอันดีงามนี้โดยการปวารณากับบุคคลข้างเคียงให้สามารถว่ากล่าวตักเตือน 

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติปวารณาได้แก่การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
  1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือนเรียกว่ามีเมตตาทางกายทางวาจาและทางใจ 
  2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนต้องมีใจกว้างมองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

  1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
  2. ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  3. ทำบุญตักบาตรเทโว
  4. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ
  5. ประดับธงธรรมจักรตามสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

บทความแนะนำ

ตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีน ประเพณีและล

Read More »

เทศกาลผีตาโขน มรดกภูมิปัญ

Read More »
ทำบุญบ้าน

ประเพณีทำบุญบ้าน ทำบุญบ้า

Read More »

เทศกาลเวนิสคาร์นิวัล (Ven

Read More »
new year festival

เทศกาลปีใหม่ มีกิจกรรมวัน

Read More »
fuji shibazakura festival

เทศกาลฟูจิชิบะซากุระ 2024

Read More »